วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

<วันศุกร์ 20 มิ.ย.>IT กับการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนและภาวะน้ำมันแพง..???

ในปัจจุบันสาเหตุของการเกิดสภาวะเรือนกระจกซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่มีส่วนทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น นั้นก็คือการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงและพลังงานต่างๆที่ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนนอกออกไซด์หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งก๊าซเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเกิดจากการเผาไหม้ของยานพาหนะและจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ในการแก้ปัญหาสภาวะเรือนกระจกนั้นสามารถทำได้โดยการลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงจากเดิม ยกตัวอย่างเช่น รถยนต์ โดยส่วนมากแล้วยานพาหนะทุกชนิดจะใช้พลังงานจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง(น้ำมัน)เป็นพลังงานในการขับเคลื่อน และในปัจจุบันการขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ หรือทางใต้ดิน ได้รับการพัฒนาและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องมาจากความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในประเทศเศรษฐกิจ เช่น อเมริกา ญี่ปุ่น ที่มีสถิติการใช้พลังงานสูงเป็นอันดับต้นๆของโลก ในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนในประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศที่ด้อยพัฒนานั้นสามารถทำได้โดยง่ายเนื่องจากยังไม่มีอุตสาหกรรมหรือเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามามาก ทำให้การใช้เชื้อเพลิงในประเทศเหล่านี้ยังมีจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วในประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่และอุตสาหกรรมใหม่ๆ ก็มีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อุตสาหกรรมขึ้นใหม่เพื่อทดแทนอุตสาหกรรมเดิมที่มีการใช้เชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนพลังงาน พูดง่ายๆก็คือการที่เราคิดค้นสิ่งใหมๆมาแทนสิ่งเดิมซึ่งเชื้อเพลิงที่ใช้ก็เป็นเชื้อเพลิงชนิดใหม่ที่นำมาใช้เพื่อทดแทนสิ่งเดิมที่ก่อให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ อย่างในปัจจุบันได้มีการคิดค้น รถยนต์พลังน้ำ ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งสามารถขับเคลื่อนได้ด้วยการใช้ น้ำ และ อากาศเท่านั้น ซึ่งระบบการทำงานหลักของมันคือ Water Engery System (WES) สามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าให้กับรถยนต์ด้วยการส่งผ่านน้ำและอากาศเข้าไปยังขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาใหม่ที่มีวัสดุพิเศษในการแยกน้ำออกเป็นไฮโดรเจนและออกซิเจนได้ด้วยปฎิกิริยาเคมี ถ้าหากว่ารถยนต์พลังน้ำนี้มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ปัญหาการใช้เชื้อเพลิงก็จะค่อยๆลดจำนวนลง ส่งผลให้ปัญหาสภาวะโลกร้อนได้รับการแก้ไขไปด้วย รวมถึงเป็นการลดการใช้น้ำมันซึ่งอาจส่งผลให้น้ำมันมีราคาถูกลงกว่าเดิมก็ได้....

<วันศุกร์ที่ 13 มิ.ย.>มานคือ Bios!!

อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่เป็น ฮาร์ดแวร์ จะสามารถทำงานได้โดยต้องมี ซอฟท์แวร์ ประกอบด้วย สำหรับ BIOS (Basic Input/Out System) นี้จะเป็นที่เก็บ ซอฟท์แวร์ ขนาดเล็ก ๆ ไว้ในชิป ROM (เป็นแบบ EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) เพื่อใช้สำหรับทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผ่น floppy disks (FDD) หรือจาก hard disks (HDD) โดยที่ BIOS จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการ POST (Power-On Self Test) ก่อนที่จะเรียกใช้ ซอฟท์แวร์ ที่เป็น Operating System เช่น DOS หรือ Windows จาก FDD หรือ HDD เพื่อทำการเริ่มต้นเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้ต่อไป
นอกจากนี้ BIOS ยังเป็นตัวกำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะควบคุมการทำงานของ Keyboard, ควบคุมการทำงานของ Serial Port, Parallel Port, Video Card, Sound Card, HDD Controller และอื่น ๆ ในบางครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ เมื่อมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาหาก BIOS ไม่สามารถรู้จักและใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่บรรจุใน BIOS ให้รู้จักกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ นั้นด้วยที่เรียกกันว่า Flash BIOS นั่นเอง
สำหรับปัจจุบันนี้ BIOS จะเก็บไว้ใน EPROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ปกติจะใช้สำหรับอ่านได้อย่างเดียว (ส่วนใหญ่จะเป็นไอซีตัวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่บนเมนบอร์ด) โดยที่เราสามารถทำการ ลบข้อมูลและโปรแกรมข้อมูล ลงไปใหม่ได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการ Flash BIOS นั้น ๆ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของ BIOS EPROM และเมนบอร์ดด้วยนะครับว่าสามารถ Flash ได้หรือเปล่าโดยวิธีการง่าย ๆ คือตรวจสอบจากเวปไซต์ของผู้ผลิดเมนบอร์ดนั้น ๆ (โดยส่วนใหญ่แล้ว เมนบอร์ดสำหรับ Pentium ขึ้นไปส่วนใหญ่จะทำการ Flash ได้แล้ว)
โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีการตั้งค่า Configuration ที่แตกต่างออกไปได้ ซึ่งค่าเหล่านี้จะถูก BIOS เก็บไว้ในส่วนของ CMOS RAM ประมาณ 64 Bytes ซึ่ง CMOS นี้จะต้องมีการจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาจาก แบตเตอรี่ เพื่อให้ค่าที่ตั้งไว้ไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของ CMOS นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้พลังงานน้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถใช้งานได้นานโดยไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย ๆ
เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องทำการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ให้เหมาะสมเช่น ค่าความเร็วของการอ่านข้อมูลจาก Memory การตั้ง Enabled หรือ Disabled อุปกรณ์ต่าง ๆ, ความเร็วของ PCI BUS, ชนิดของ Floppy Disk หรือ Hard Disk ที่ใช้งาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น SCSI และอื่น ๆ อีกมากมายที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์
BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ AMI BIOS (American Megatrends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วย
สรุปว่า BIOS มีความสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มี BIOS เราก็ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้
หัวข้อเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง

เรียนอะไร---ในวันศุกร์ที่ 11 ก.ค. 2551

ประเภทของระบบสารสนเทศ E-office E-mail E-metting

-ระบบประมวลรายการ การสั่งซื้อ การควบคุมสินค้ากองคลัง เงินเดือน บัญชี

-ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

-ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ

-ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เกษตรกรรม ประเมินราคาที่ดิน

-ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงการทำงานทั้งองค์กร

-ระบบลูกค้า ผลิต การขาย บัญชี

-วงจรการพัฒนาระบบสารสนเทศ

1.สำรวจข้อมูลเบื้องต้น

2.วิเคราะหืระบบ

3.ออกแบบระบบ

4.พัฒนาระบบ

5.การติดตั้งใช้งานระบบ

6.การบำรุงรักษาระบบ


คุณสมบัติของนักวิเคราะห์ระบบ

-มีความรู้ทางด้านธุรกิจขององค์กร

-มีความเป็นผู้นำ

-มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

-มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา

-มีความสามารถในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน

-มีความรู้ในการเขียนโปรแกรม

-ติดตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง

-มีประสบการณ์ในการวิเคราะห์ระบบ